วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

จิตร ภูมิศักดิ์

หากจะพูดถึงชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์ แล้วนั้น อาจจะยังไม่คุ้นสำหรับหนุ่มสาวรุ่นใหม่
แต่หารู้ไม่ว่าชื่อนี้มีพื้นความหลังยังไง และประวัติที่น่าสนใจเพียงไร


จิตร ภูมิศักดิ์ เกิดวันที่ 25 กันยายน 2473 เดิมชื่อ สมจิตร เกิดที่ตำบลประจันตคาม ปราจีนบุรี จบการศึกษาชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและเข้าศึกษาต่อที่คณะ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย......

จิตรมีวี่แววเป็นนักคิด ตั้งแต่เรียนหนังสือในรั้วมหาวิทยาลัย ได้รับการถ่ายทอดความรู้จาก ดร.วิลเลี่ยม เจ เก็ตนีย์ ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายภาษาโบราณตะวันออกและ ศาสตราจารย์พระยาอนุมาราชธน ทำให้แตกฉานทั้งภาษาไทยและภาษาเพื่อนบ้าน.....

จิตร เป็นสาราณียกรของหนังสือจุฬาลงกรณ์ ฉบับ 23 ตุลาคม ปีนั้น ทำให้หนังสือเล่มนี้ มีสาระแหวกแนวจากแบบฉบับทุกปีที่กล่าวถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยความ ภาคภูมิใจ น้องพี่สีชมพู ไปพูดถึงความเดือดร้อน ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างฝ่ายปกครองประเทศ เผด็จการทหารและประชาชน จึงไม่เป็นที่พอใจคนในรั้วมหาวิทยาลัย และถูกมาตราการ "โยนบก" ของกลุ่มนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ จนได้รับบาดเจ็บ......

หลังจากจบการ ศึกษาแล้ว จิตรได้เข้าร่วมกิจกรรมกับนิสิตนักศึกษาที่รักระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ จนถูกรัฐบาลเผด็จการทหารในขณะนั้น จับกุมข้อเป็น "คอมมิวนิสต์" ถูกจำคุกในลาดยาว เป็นเวลา 6 ปี.....
ในระหว่างที่ถูกจำ คุกอยู่ จิตร ได้ศึกษาต่อเนื่องและได้ผลิตผลงานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับว่าเป็นผลงานชั้น เยี่ยมคือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อ ชนชาติ"........

หลังจากถูกปล่อยตัวแล้ว จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เข้าร่วมขบวนการกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยทางอิสาน ด้วยเหตุผลต้องการเห็นการปกครองอยู่ในเผด็จการทหาร ประชาชนที่มีความคิดเห็นแตกต่าง ได้รับการกดดัน ทำร้าย หรือถูกกุมขัง ......
จิตร อยากเห็นการปกครองแบบประชาธิปไตย สังคมที่เป็นธรรม จึงเข้าไปมีส่วนร่วมในขบวนการกับพรรคคอมมิวนิสต์ เผื่อว่าจะได้เสนอแนวความคิดของตนเองให้กับพรรคได้......

วันนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เสียชีวิตไปแล้ว ณ ชายป่าบ้านหนองกุง สกลนคร เมื่อวันที่ 5 พฤกษภาคม 2509 ประวัติและผลงานของเขา เป็นที่ยอมรับในวันเวลาต่อมา โดยเฉพาะช่วงเวลา หลัง 14 ตุลาคม 2516 ในฐานะนักคิด นักวิชาการ นักภาษาศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ และนักปฎิวัติเพื่อให้สังคมไทยดีกว่าที่เป็นอยู่.....

นอกจากนี้แล้วบทกลอนที่จิตร ได้ทิ้งไว้ให้ได้หวนนึกถึงคือ


เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้นะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเปิบกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูทั้งสิ้น ที่สูซดกำซาบฟัน 

ที่ยังคงทิ้งไว้ตราบชั่วปัจจุบัน เพื่อเรียกร้องเสมอภาคเท่าเทียมในสังคม 

http://topicstock.pantip.com/rajdumnern/topicstock/P2587090/P2587090.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น