วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

ป่าเต็งรัง

เมื่อ สัปดาห์ที่ผ่านดิฉันได้ทีโอก่สไปเที่ยวที่ภูพาน เพื่อไปเยี่ยมชมธรรมชาติ
พร้อมทั้งได้รับฟังคำอธิบายดีๆจากเจ้าหน้าที่อุทยาน
ซึ่งภายในอุทยานแห่งชาติภูพานเป็นป่าเต็งรังที่มีลักษณะที่ไม่เหมือนป่าแถบอื่น
ดิฉันเลยอยากพาทุกคนเข้าไปสัมผัสกับป่าเต็งรังกันว่ามันมายังไง


ป่าเต็งรัง Deciduous Dipterocarp Forest








ถิ่นการกระจาย 
          ป่าเต็งรังเป็นสังคม หนึ่งในกลุ่มป่าผลัดใบ ฉะนั้นลักษณะสำคัญในอันดับแรกของการจำแนกคือ การผลัดใบของไม้ส่วนใหญ่ในทุกระดับชั้นเรือนยอด ลำดับต่อไปในการจำแนก ป่าเต็งรังมีถิ่นกระจายโดยกว้าง ๆ ซ้อนทับกันอยู่กับป่าผสมผลัดใบแต่อาจแคบกว่าเล็กน้อย ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้ง สังคมพืชชนิดนี้แท้จริงแล้วมีพบในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และบางส่วนของประเทศเวียดนามเท่านั้น ในประเทศอินเดียอาจมีป่าซาลที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกระจายอยู่ในบางส่วน เฉพาะประเทศไทย มีปรากฏตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีขึ้นไปจนถึงเหนือสุดในจังหวัดเชียงราย ป่าชนิดนี้เป็นสังคมพืชเด่นในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ปรากฏสลับกันไปกันป่าผสมผลัดใบคือยึดครองในส่วนที่พื้นที่มีความ แห้งแล้งจัด กักเก็บน้ำได้เลว เช่น บนสันเนิน พื้นที่ราบที่เป็นทรายจัด มีหินบนผิวดินมาก หรือ บนดินลูกรังที่มีชั้นของลูกรังตื้น มีปรากฏตั้งแต่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 50 เมตร ขึ้นไปจนถึง 1,000 เมตร 








ปัจจัยกำหนดในการเกิดป่าเต็งรัง

ป่าเต็งรังที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่ฤดูกาลแบ่งแยกค่อนข้างชัดเจนระหว่างฤดูฝน กับฤดูแล้ง ปกติต้องมีช่วงแห้งแล้งจัดเกินกว่า 4 เดือนต่อปี ดินตื้นกักเก็บน้ำได้เลวมาก ปริมาณน้ำฝนอยู่ในช่วง 900-1,200 มิลลิเมตรต่อปี ไฟป่าเกิดขึ้นเป็นประจำจนนักนิเวศวิทยาหลายท่านเชื่อว่าสังคมป่าชนิดนี้เป็น สังคมถาวรที่มีไฟป่าเป็นตัวกำหนด (pyric climax community) หากไม่มีไฟป่าจะคงอยู่ไม่ได้ ปกติไฟป่ามักเกิดขึ้นช่วงเดือนธันวาคมไปจนถึงเดือนมีนาคม ไฟเป็นปัจจัยสำคัญต่อการจัดโครงสร้าง การคงชนิดพันธุ์ในสังคมและการสืบพันธุ์ของไม้ในพื้นที่





สัตว์ในป่าเต็งรัง
           อันเนื่องมาจากโครง สร้างของสังคมพืชที่คล้ายคลึงกับป่าผสมผลัดใบ สัตว์ป่าของป่าเต็งรังจึงมีลักษณะเช่นเดียวกัน คือมีปริมาณของสัตว์กินพืชที่บนผิวดินค่อนข้างมากทั้งจำนวนและชนิดพันธุ์และ ความมากมายในแต่ละชนิดพันธุ์ สัตว์ป่าที่พบมักไม่อาศัยอยู่ประจำในสังคมพืชเดียวจึงไม่สามารถถือได้ว่า เป็นสัตว์ประจำของสังคมใดสังคมหนึ่ง อย่างไรก็ตามสัตว์ที่พบเห็นได้บ่อยและเข้าใช้สังคมพืชนี้เป็นประจำมีดังนี้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ วัวแดง กวางป่า เก้ง กระต่ายป่า กระแตเหนือ กระเล็น กระจ้อน เม่นหางพวง ลังกัง ส่วนกระทิงและช้างป่าเข้ามาใช้เป็นแหล่งอาหารในช่วงฤดูฝน สัตว์ผู้ล่าที่สำคัญ ได้แก่ หมาจิ้งจอก หมาใน เสือปลา แมวดาว และเสือดาว

นกในป่าเต็งรังปรากฏว่ามีอยู่มากมายหลายชนิดด้วยกัน มีทั้งนกที่หากินบนดิน ในพุ่มไม้และบนเรือนยอดระดับสูง ที่พบเห็นได้บ่อย เช่น นกกระทาทุ่ง ไก่ป่า นกยูง นกคุ่ม และนกในวงศ์นกเขา นกเค้า นกแก้ว นกตบยุง และอื่น ๆ อีกหลายชนิด

สัตว์เลื้อยคลานที่สำคัญในป่าชนิดนี้ ได้แก่ เต่าเหลือง กิ้งก่าบินในสกุล กิ้งก่าหัวแดง ตะกวด แย้ นอกจากนี้ยังมีจิ้งเหลนในหลายสกุล งูในหลายสกุลและชนิด ตุ๊กแกป่า เต่าน้ำและตะพาบน้ำในลำห้วยในป่าชนิดนี้

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกน่าจะมีอยู่น้อย แต่โดยแท้จริงพบได้ค่อนข้างมาก ทั้งนี้เนื่องจากป่าเต็งรังก็มีแหล่งน้ำเช่นเดียวกับป่าชนิดอื่น และมีสัตว์กลุ่มนี้ที่ปรับตัวเข้ากับความแห้งแล้งได้ดีอยู่หลายชนิด เช่น อึ่งกรายลายเลอะ คางคกแคระ คางคกบ้าน และเขียดชนิดต่าง ๆ
ระบบนิเวศของป่าเต็งรัง
          ระบบนิเวศของป่า ชนิดนี้มีลักษณะเด่น เช่นเดียวกับป่าผลัดใบในเขตร้อนทั่วไป คือ มีพลังงานจากดวงอาทิตย์พอเพียงสำหรับพืชในการสร้างอินทรีย์วัตถุ แต่การสังเคราะห์แสงและการหลั่งไหลของพลังงานมักถูกจำกัดในช่วงฤดูแล้ง ผลผลิตในขั้นมูลฐาน และความหลากหลายของชนิดพันธุ์ อาจน้อยกว่าสังคมพืชอื่นอยู่บ้างเนื่องจากช่วงฤดูการเติบโตค่อนข้างสั้น สาเหตุจากความแห้งแล้ง ความสมบูรณ์ของดินค่อนข้างต่ำ แต่ก็มิได้เป็นปัญหาที่สำคัญต่อความสมบูรณ์ของสังคม ผลผลิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนเมื่อความชื้นในดินมีเพียงพอ การพักตัวของพืชสีเขียวเกิดขึ้นในฤดูแล้งเมื่อน้ำในดินขาดแคลน พันธุ์ไม้ทุกชนิดผลัดใบทิ้งเพื่อลดการคายน้ำและหยุดการเจริญเติบโต

การเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ของไม้ส่วนใหญ่ในสังคมนี้ขึ้นอยู่กับความชื้น และคุณภาพของดิน ป่าชนิดนี้จะสมบูรณ์สุดเมื่อขึ้นอยู่บนที่ที่มีโครงสร้างเป็น sandy clay loam ลักษณะค่อนข้างเป็นกรด จากรายงานมักปรากฏว่าป่าเต็งรังในลุ่มน้ำพองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หมู่ไม้ทั่วไปมีลักษณะโปร่ง มีเรือนยอดปกคลุมประมาณร้อยละ 60 มีความหนาแน่นเฉลี่ยของต้นประมาณ 496 ต้นต่อเฮกแตร์ มีพื้นที่หน้าตัดประมาณ 15.78 ตารางเมตรต่อเฮกแตร์ จากการวิเคราะห์ข้อมูลป่าเต็งรังที่กระจายอยู่ในทางภาคเหนือของประเทศใน สังคมย่อยต่าง ๆ ไม่มีความหนาแน่นตั้งแต่ 410 ต้นต่อเฮกแตร์ขึ้นไปจนถึง 602.50 ต้นต่อเฮกแตร์ พื้นที่หน้าตัดตั้งแต่ 10 -23.87 ตารางเมตรต่อเฮกแตร์ ค่าที่ประเมินได้จากต้นไม้ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก เกินกว่า 4.5 เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งถือว่าผ่านพ้นการทำลายของไฟป่า
          ในพื้นที่ที่ถูกทำลาย อย่างหนักและต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีไฟป่าเกิดขึ้นอย่างรุนแรงทุกปี สังคมป่าชนิดนี้อาจเปลี่ยนรูปไปจนมีลักษณะที่คล้ายป่าทุ่ง คือมีต้นไม้ขึ้นห่าง ๆ ผสมด้วยหญ้าและพืชล้มลุกที่ค่อนข้างสูง ไม่ที่หลงเหลือและที่รุกล้ำเข้ามาส่วนใหญ่เป็นไม้หนามแสดงให้เห็นถึงสภาพดิน ที่เลวลงแบะขาดน้ำ ไม้ที่พบเห็นได้เด่นชัดเช่น หนามเล็บแมว หนามหัน หนามเสมา หนามเค็ด ตะขบป่า ตะขบไทย และเล็บเหยี่ยว
          เป็นที่ยอมรับแล้วว่า ป่าเต็งรังคงสภาพอยู่ได้เนื่องจากไฟป่า คือ เป็นสังคมถาวรที่มีไฟป่าเป็นปัจจัยกำหนด หากมีการป้องกันไฟป่าติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน สังคมนี้จะเปลี่ยนไปสู่สังคมพืชที่ชื้นกว่า คือ สังคมป่าผสมผลัดใบหรือต่อไปถึงป่าดงดิบแล้ง โดยเริ่มต้นด้วยการลดประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของไม้ดัชนีโดยเฉพาะเหียง พลวง เต็ง รัง ทั้งนี้เนื่องจากเมล็ดของไม้เหล่านี้ไม่สามารถตกถึงพื้นดินได้ การงอกของเมล็ดเป็นไปอย่างรวดเร็วหลังการตกและรากมักแห้งตาย กล้าไม้และไม้ขนาดกลางมักอ่อนแอลงและเมื่อได้รับแสงน้อย เนื่องจากไม้อื่นที่ขึ้นหนาแน่นก็ตายไป สภาพดินที่ชื้นขึ้นอาจเป็นสาเหตุให้ไม้ดัชนีดังกล่าวล้มตายลงในที่สุดไม้ป่า ที่ชอบสภาพแวดล้อมแบบใหม่ก็จะเข้ามาทดแทน สังคมป่าเต็งรังเดิม คาดว่าไม่เกิน 50 ปี ก็หมดสภาพ ขึ้นอยู่กับสภาพเดิมว่ามีความแห้งแล้งเพียงใด
          การแปรผันของสังคมพบ เห็นได้เด่นชัดในรอบปี หากพิจารณาตั้งแต่ปลายฤดูฝนจากเดือนพฤศจิกายน พันธุ์ไม้เกือบทุกชนิด ไม่ว่าไม้ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่เริ่มมีการผลัดใบทิ้งเพื่อเตรียมตัวรับความ แห้งแล้ง ใบที่เคยเขียวสดก็เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แดง น้ำตาล แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ประมาณเดือนธันวาคมก็เริ่มร่วงหล่นลงสู่ดินพืชล้มลุกบนพื้นป่าแห้งตาย การเปลี่ยนสีใบค่อนข้างเด่นชัดมาก หากความหนาวเย็นของอากาศเคลื่อนตัวลงมาอย่างฉับพลัน ในช่วงนี้ป่าเต็งรังจะมีความงามเป็นพิเศษ และสามารถแยกได้อย่างเด่นชัดจากป่าชนิดอื่น ประมาณเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ ไฟป่าก็เริ่มขึ้น ความรุนแรงของไฟขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของใบไม้และหญ้าบนพื้นป่า หลังจากช่วงนี้เรือนยอดป่าคงเหลือแต่กิ่งก้านและพื้นป่าโล่งเตียน ประมาณกลางเดือนมีนาคมเป็นต้นไปพันธุ์ไม้หลายชนิดของป่าเต็งรังเริ่มออกดอก ผลเพื่อการโปรยเมล็ดให้ทันต้นฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม
          ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม อันเป็นการเริ่มต้นของฤดูกาลเจริญเติบโตของสังคมนี้ การโปรยเมล็ดของไม้ใหญ่เริ่มขึ้นในต้นฤดูฝน ก่อนพื้นป่าจะรกทึบด้วยพืชคลุมดิน พืชเหล่านี้ทยอยกันงอกตั้งแต่ฝนแรกของฤดูกาล พืชคลุมดินที่ต้องการแสงมากมักปรากฏก่อนที่ใบไม้ในชั้นเรือนยอดจะแตกใบอ่อน และการเจริญเติบโตแผ่คลุมพื้นที่เต็มที่ พืชเหล่านี้มีการพัฒนาวงจรชีวิตให้สั้น มีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและถึงช่วงการออกดอกผลได้ในระยะสั้น บางชนิดอาจโปรยเมล็ดเมล็ดอาจต้องรอเวลานานก่อนที่จะสมบูรณ์และงอกได้ บางชนิดมีเมล็ดคาอยู่บนต้นจนสิ้นฤดูฝน ชนิดที่ชอบแสงมากขึ้นเด่นนำก่อนส่วนชนิดที่ต้องการแสงน้อยจะทยอยขึ้นติดตาม มาเป็นลำดับ ก่อให้เกิดฉากสลับกันไป (alternative phase) ในพื้นป่า การเจริญเติบโตของไม้ใหญ่ค่อนข้างมีอัตราที่สูงในช่วงหลังจากใบเจริญเติบโต เต็มที่ อัตราการเติบโตลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อใกล้สิ้นฤดูฝนและมีการปรับสภาพทางสรีระ เพื่อการพักผ่อนต่อไป การผันแปรในรูปของวัฏจักรเช่นนี้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
          การปรับตัวเพื่อความ สัมพันธ์กับสภาพการเกิดไฟป่าของพันธุ์ไม้ในป่าเต็งรังเป็นได้ค่อนข้างชัดเจน ในหลายประการ โดยเฉพาะการจัดช่วงเวลาของการโปรยเมล็ดให้สัมพันธ์กับไฟป่า พันธุ์ไม้ที่มีเมล็ดบอบบางไม่ทนไฟมักเลือกช่วงโปรยเมล็ดพันธุ์ในช่วงต้นฤดู ฝนหลังฤดูกาลของไฟป่า เมล็ดสามารถตกต้องผิวดิน รากที่งอกมาใหม่ ๆ สามารถหยั่งลงดินเพื่อรับความชื้นป้องกันการแห้งตาย ส่วนเมล็ดไม้บางชนิดปรับตัวเพื่อผ่านฤดูไฟป่าด้วยมีเปลือกแข็งป้องกันความ ร้อนได้ดี ไฟป่าอาจมีส่วนช่วยในการทำให้เปลือกสามารถดูดซับน้ำได้ดีขึ้นในช่วงการงอก เมล็ดไม้กลุ่มนี้มักโปรยเมล็ดในช่วงปลายฤดูฝนและต้นฤดูร้อน กล้าไม้ของพันธุ์ไม้ในป่าเต็งรังส่วนใหญ่มีความสามารถในการแตกหน่อหลังไฟป่า ได้ดี (burned back phenomena) บางชนิดมีช่วงแตกหน่อเพื่อสร้างความแข็งแรงของรากยาวนานถึง 15 ปี การป้องกันเนื้อเยื่อเจริญ (cambium) ด้วยวิธีการมีเปลือกที่หนาพร้อมทั้งส่วนนอกที่แข็งทนไฟและกันความร้อนได้ดี ปรากฏในทุกชนิด ส่วนพืชล้มลุกอาศัยการตายของลำต้นแต่ฝังหัวและรากที่มีตาเจริญเพื่อการแตก หน่อกลับขึ้นมาใหม่ในช่วงฤดูฝน
          อันเนื่องจากสภาพทาง นิเวศวิทยาของสังคมพืชที่ไม่เหมือนกับป่าดงดิบโดยทั่วไป ผู้เสพในป่าเต็งรังต้องปรับสภาพทางนิเวศวิทยาในหลายประการด้วยกันเพื่อการ อยู่รอดในป่าชนิดนี้ หลายชนิดมีการโยกย้ายถิ่นออกไปจากสังคมในช่วงฤดูแล้งและกลับเข้ามาอาศัยใหม่ ในช่วงฤดูฝน เช่น ชะนี พญากระรอก ค่างแว่นถิ่นเหนือ ลิงกัง เป็นต้น ประชากรสัตว์ป่าหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าชนิดนี้เป็นประจำมักมีการปรับชีพ จักรให้เข้ากับการผันแปรของสังคม โดยเฉพาะฤดูกาลผสมพันธุ์ เช่น นกยูง ไก่ป่า และนกกระทาทุ่ง มีช่วงการผสมพันธุ์และวางไข่ในราวเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งการสะสมความสมบูรณ์ภายในร่างกายจากช่วงฤดูฝนขึ้นถึงจุดสูงสุด ไข่ปลอดภัยจากความเสียหาย เนื่องจากความชื้น ลูกอ่อนที่ออกมาในช่วงฤดูแล้งปลอดจากโรคและมีอัตราการรอดตายสูง เมื่อเข้าต้นฤดูฝนก็มีความแข็งแรงและสามารถเจริญเติบโตเต็มที่ ฉะนั้นประชากรของนกกลุ่มนี้จะมีความหนาแน่นสูงสุดในช่วงปลายฤดูแล้ง ประชากรของสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น ช้างป่า และวัวแดง ก็มีการปรับตัวให้สัมพันธ์กับความแปรผันของป่าชนิดนี้ไม่น้อยเช่นกัน เนื่องจากสัตว์ป่าขนาดใหญ่มีถิ่นหากินที่กว้างขวางครอบคลุมหลายสังคมพืช จึงเป็นการยากที่จะประเมินมวลชีวภาพที่สัมพันธ์กับสังคมพืชหนึ่งสังคมพืชใด โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามในช่วงฤดูฝนสัตว์ป่าเหล่านี้มักเข้ามาใช้ประโยชน์ป่าเต็งรัง ค่อนข้างสูงมาก
          ในส่วนของผู้ย่อยสลาย ประกอบด้วยสัตว์ขนาดเล็ก ซึ่งเป็นผู้แยกส่วนของพืชที่ตายแล้วให้เล็กลง อันได้แก่ ปลวกและสัตว์ที่ผิวดินอื่น ๆ (soil fauna) บนพื้นป่า นอกจากนี้ก็มีเชื้อรา ซึ่งก็มีเห็ดหลายชนิดที่ขึ้นบนเนื้อไม้ ใบ และส่วนอื่น ๆ ของพืชรวมถึงที่ขึ้นบนอินทรีย์วัตถุที่ผสมอยู่ในดิน แบคทีเรียก็เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ตัวย่อยสลายในป่านี้



          ระบบนิเวศของป่า เต็งรังจัดได้ว่าเป็นระบบนิเวศที่มีการหมุนเวียนของสารและ การหลั่งไหลของพลังงานค่อนข้างรวดเร็ว ความชื้นในช่วงฤดูฝนที่มีระยะเวลา ประมาณ 5-6 เดือน นับว่าเพียงพอสำหรับการทำงานของผู้สลายอินทรียวัตถุที่จะทำลายซากพืชขนาด เล็ก เช่น กิ่ง และใบให้หมดไปได้ และคืนธาตุอาหารสู่ดิน ไฟป่านับได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นกลไกในการกำจัดซากพืชซากสัตว์ให้หมดไป ในสภาพป่าที่สมบูรณ์ การหลั่งไหลของธาตุอาหารที่ต้องเสียไปกับการกัดชะของฝนที่ผิวดินค่อนข้างต่ำ แม้ว่าจะมีไฟป่าก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากพืชคลุมดินเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วในช่วงต้นฤดูฝนและยึด เหนี่ยวดินไว้ การสูญเสียตะกอนที่ผิวดินตกประมาณ 471 กิโลกรัมต่อเฮกแตร์ต่อปี อย่างไรก็ตามธาตุอาหารพืชเหล่านี้ได้เพิ่มจากการผุสลายตัวของหินเข้ามาทดแทน จึงทำให้ป่าเต็งรังยังคงความสมบูรณ์อยู่ได้ถ้าหากมีการจัดการที่เหมาะสม

ธรรมชาติยังคงปรับเปลี่ยนหมุนเวียนไป  คอยให้คุณประโยชน์ต่อมนุษย์
ซึ่งมันเป็นเหมือนเสียงสะท้อนที่แผ่วเบาจากธรรมชาติที่อยากจะบอกมนุษย์ว่า ถึงเวลาที่เธอจะให้ประโยชน์ต่อฉันบ้างแล้วล่ะ........

http://www.huaikhakhaeng.net/forest/dip.html


จิตร ภูมิศักดิ์

หากจะพูดถึงชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์ แล้วนั้น อาจจะยังไม่คุ้นสำหรับหนุ่มสาวรุ่นใหม่
แต่หารู้ไม่ว่าชื่อนี้มีพื้นความหลังยังไง และประวัติที่น่าสนใจเพียงไร


จิตร ภูมิศักดิ์ เกิดวันที่ 25 กันยายน 2473 เดิมชื่อ สมจิตร เกิดที่ตำบลประจันตคาม ปราจีนบุรี จบการศึกษาชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและเข้าศึกษาต่อที่คณะ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย......

จิตรมีวี่แววเป็นนักคิด ตั้งแต่เรียนหนังสือในรั้วมหาวิทยาลัย ได้รับการถ่ายทอดความรู้จาก ดร.วิลเลี่ยม เจ เก็ตนีย์ ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายภาษาโบราณตะวันออกและ ศาสตราจารย์พระยาอนุมาราชธน ทำให้แตกฉานทั้งภาษาไทยและภาษาเพื่อนบ้าน.....

จิตร เป็นสาราณียกรของหนังสือจุฬาลงกรณ์ ฉบับ 23 ตุลาคม ปีนั้น ทำให้หนังสือเล่มนี้ มีสาระแหวกแนวจากแบบฉบับทุกปีที่กล่าวถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยความ ภาคภูมิใจ น้องพี่สีชมพู ไปพูดถึงความเดือดร้อน ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างฝ่ายปกครองประเทศ เผด็จการทหารและประชาชน จึงไม่เป็นที่พอใจคนในรั้วมหาวิทยาลัย และถูกมาตราการ "โยนบก" ของกลุ่มนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ จนได้รับบาดเจ็บ......

หลังจากจบการ ศึกษาแล้ว จิตรได้เข้าร่วมกิจกรรมกับนิสิตนักศึกษาที่รักระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ จนถูกรัฐบาลเผด็จการทหารในขณะนั้น จับกุมข้อเป็น "คอมมิวนิสต์" ถูกจำคุกในลาดยาว เป็นเวลา 6 ปี.....
ในระหว่างที่ถูกจำ คุกอยู่ จิตร ได้ศึกษาต่อเนื่องและได้ผลิตผลงานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับว่าเป็นผลงานชั้น เยี่ยมคือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อ ชนชาติ"........

หลังจากถูกปล่อยตัวแล้ว จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เข้าร่วมขบวนการกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยทางอิสาน ด้วยเหตุผลต้องการเห็นการปกครองอยู่ในเผด็จการทหาร ประชาชนที่มีความคิดเห็นแตกต่าง ได้รับการกดดัน ทำร้าย หรือถูกกุมขัง ......
จิตร อยากเห็นการปกครองแบบประชาธิปไตย สังคมที่เป็นธรรม จึงเข้าไปมีส่วนร่วมในขบวนการกับพรรคคอมมิวนิสต์ เผื่อว่าจะได้เสนอแนวความคิดของตนเองให้กับพรรคได้......

วันนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เสียชีวิตไปแล้ว ณ ชายป่าบ้านหนองกุง สกลนคร เมื่อวันที่ 5 พฤกษภาคม 2509 ประวัติและผลงานของเขา เป็นที่ยอมรับในวันเวลาต่อมา โดยเฉพาะช่วงเวลา หลัง 14 ตุลาคม 2516 ในฐานะนักคิด นักวิชาการ นักภาษาศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ และนักปฎิวัติเพื่อให้สังคมไทยดีกว่าที่เป็นอยู่.....

นอกจากนี้แล้วบทกลอนที่จิตร ได้ทิ้งไว้ให้ได้หวนนึกถึงคือ


เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้นะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นเม็ดพราว ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเปิบกิน
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง และน้ำแรงอันหลั่งริน
สายเลือดกูทั้งสิ้น ที่สูซดกำซาบฟัน 

ที่ยังคงทิ้งไว้ตราบชั่วปัจจุบัน เพื่อเรียกร้องเสมอภาคเท่าเทียมในสังคม 

http://topicstock.pantip.com/rajdumnern/topicstock/P2587090/P2587090.html

ท้องฟ้ากับจิตใจ

 
 
 
 ว่าด้วยเรื่องขิงท้องฟ้า.........
 
 
 
 
 
ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส จิตใจที่เบิกบาน 
เพียงแค่แหงนหน้ามองฟ้าชีวิตมันก็ช่างทำให้มีความสุขได้...
ในบางทีอาจจะเป็น เพราะว่าชีวิตนั้นได้ผ่านเรื่องราวมามากมาย
ทั้งเรื่อง ที่ได้ประโยชน์  และไร้สาระ 
การที่ได้นำเรื่องราวต่างๆเก็บมาคิด ตัดสินใจทำไปนั้น 
มันสำคัญทีเดียวเพราะมันช่างเหมือนเราได้ตัดความกังวลใจออกไป
พร้อมที่จะเริ่มต้นใหม่กับชีวิตของวันใหม่ดังท้องฟ้าที่สดใสกำลังรอเราอยู่
มันเบิกกว้างออกไปสุดลูกหูลูกตา  ไม่มีแท้กระทั่งเมฆมาบดบัง
ใน วันข้างหน้าอาจจะเจอพายุโหมกระหน่ำสักเพียงใด   
แต่ท้องฟ้าก็ยังคงต้องยืนหยัดต่อสู้ให้มันผ่านไป....
จนกลายเป็นท้องฟ้าที่ แจ่มใสในฟ้าหลังฝน
บางทีอย่างน้อยสิ่งที่คอยเป็นเพื่อนกับท้องฟ้าผืนนี้นั้น
ยังมีอากาศที่พอจะหล่อเลี้ยงลมหายใจอันแผ่วเบา
มีแสงอาทิตย์ที่คอยสาดส่องเพิ่มพลังในวันใหม่
มีแสงจันทร์ที่จะคอยให้แสงสว่างในคืนอันมืดมิด
มีดวงดาวที่ระยิบระยับเป็นเพื่อนให้ได้เหลียวมองในยามเหงา
สุดท้ายแล้วบทสรุปของท้องฟ้าไม่ว่ามันจะยังคงสดใส
หรือไม่หรือเป็นสีอะไรในแต่ล่ะช่วงเวลาท้ายที่สุด
ท้องฟ้าก็ยังต้องอยู่บนโลกนี้ต่อไป
 
                                                    นราทิพย์ นาถาทดอง
       
 
 

มาเบิ่งภูพาน










มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอเมือง อำเภอพรรณานิคม กิ่งอำเภอภูพานจังหวัดสกลนคร และอำเภอสมเด็จอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุดบาก จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเนื้อที่ประมาณ 655 ตร.กม. หรือ 415,439 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2525 ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพานตามเส้นทางสายสกลนคร-กาฬสินธุ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 25 กม. มีสถานที่น่าสนใจได้แก่






-----------------------------------------------
 ผานางเมิน และลานสาวเอ้
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 700 เมตร และ 2 กม. ตามลำดับตามทางเดินเท้าจาก ที่ทำการ สองข้างทางจะเป็นป่าพรวงไปตลอดถึงริมหน้าผา ซึ่งเป็นลาดหินทอดยาวหันหน้าไปทางทิศตะวันตกมองเห็นธรรมชาติเบื้องล่างได้อย่างชัดเจนสวยงาม ส่วนด้านล่างหน้าผามีทางเดินไปลานสาวเอ้ ซึ่งเป็นลานหินธรรมชาติที่สวยงาม อยู่ท่ามกลางป่าเขาและบริเวณหน้าผาสูงชันในเดือนสิงหาคม - ตุลาคม และจะได้พบเห็นดอกไม้ขึ้นสลับสี เป็นทุ่งกว้าง เหมาะสำหรับพักผ่อน ถ่ายภาพ และชมธรรมชาติ
เป็นหน้าผาที่มีที่มาจากความรักสามเศร้าของหนุ่มสาว
ที่หญิงสาวไปมีรักใหม่ จนสุดท้ายชายหนุ่มจึงตัดสินใจจบชีวิตที่หน้าผาแห่งนี้






ถ้ำเสรีไทย
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4.5 กม. เป็นถ้ำที่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายเสรีไทย ได้ใช้เป็นที่สะสมอาวุธและเสบียง เพราะเป็นทำเลที่เหมาะสม ปกปิดด้วยป่าไม้ที่เขียวชะอุ่ม และบริเวณเดียวกันมีร่องรอยการขุดแต่งเพื่อเป็นสนามบินลับด้วย




ซึ่งทุกอยา่งล้วนน่าสนใจ มีที่มาให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาอย่างดีเยี่ยม
ขอขอบคุณที่มา http://www.thai-tour.com/thai-tour/northeast/sakonnakorn/data/place/npk_pupan.htm